วันที่ 9 พฤศจิกายน 2555
- อาจารย์ให้นักศึกษา Link
รายชื่อ Blog ทุกคน เพราะอาจารย์จะเริ่มตรวจ Blog ตั้งแต่เวลา 17.00 น. ทุกวันเสาร์
รากฐานทางปรัชญาของทฤษฎีมาจากความพยายามที่จะเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมกับประสบการณ์ใหม่ ด้วยกระบวนการที่พิสูจน์อย่างมีเหตุผล
เป็นความรู้ที่เกิดขึ้นจาก การไตร่ตรอง ซึ่งถือเป็นปรัชญาปฏิบัตินิยมประกอบกับหลักฐานทางจิตวิทยาการเรียนรู้ที่มี
อิทธิพลต่อแนวคิดของเพียเจต์เอง ซึ่งเชื่อว่า
การเรียนรู้เกิดขึ้นจาก การปรับตัวเข้าสู่สภาวะสมดุลย์
(Equilibrium) ระหว่างอินทรีย์และสิ่งแวดล้อม สรุปแล้วในพัฒนาการเชาวน์ปัญญาบุคคลต้องมีการปรับตัวซึ่งประกอบด้วยกระบวนการสำคัญ 2
อย่าง คือ การดูดซึมหรือซึมซาบเข้าสู่โครงสร้างทางปัญญา (Assimilation) และ การปรับโครงสร้างทางสติปัญญา
(Accomodation)
* คณิตศาสตร์เป็นเรื่องราวที่อยู่รอบตัวของเรา
เช่น ห้องเรียนของเรา ได้แก่
พัดลม = มี 5 ใบพัด / เป็นวงกลม
หลอดไฟ = มี 2 หลอดใน 1 ราง / เป็นแท่งกลม
โต๊ะเรียน = เป็นสี่เหลี่ยม
นักศึกษา = เป็นจำนวน
ฯลฯ
- อาจารย์สั่งงานตามหัวข้อต่อไปนี้ ส่งสัปดาห์หน้า (16 พฤศจิกายน 2555)
ไปสำรวจหนังสือคณิตศาสตร์ว่ามีอะไรบ้าง
ดังต่อไปนี้
1. เขียนชื่อเรื่อง/ผู้แต่ง/ปี
พ.ศ. ที่พิมพ์/เลขประจำหนังสือ
2. หาความหมายของคำว่า
“คณิตศาสตร์” มา 1 คน (เขียนนาม-ปี)
3. เขียนวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายของคณิตศาสตร์
มา 1 คน
4. หาการสอนหรือการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์(ขอบข่าย)
มา 1 คน
5. หาหลักการสอนคณิตศาสตร์
- อาจารย์อธิบายถึงทฤษฎีของเพียเจท์ : การพัฒนาการทางสติปัญญาโดยการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
อ้างอิงจาก : ทฤษฎีพัฒนาการเชาน์ปัญญาของเพียเจต์
*ค้นคว้าเพิ่มเติม
เพียเจต์ กล่าวว่า ระหว่างระยะเวลาตั้งแต่ทารกจนถึงวัยรุ่น คนเราจะค่อยๆสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้นตามลำดับขั้น โดยเพียเจต์ได้แบ่งลำดับขั้นของพัฒนาการเชาวน์ปัญญาของมนุษย์ ไว้ 4 ขั้น ซึ่งเป็นขั้นพัฒนาการเชาวน์ปัญญา
ดังนี้
สำหรับเด็กปฐมวัยมี 2 ขั้นดังนี้
ขั้นที่1...ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว Sensorimotor (แรกเกิด - 2 ขวบ) เพียเจต์เป็นนักจิตวิทยาคนแรกที่ได้ศึกษาระดับเชาวน์ปัญญาของเด็กวัยนี้ไว้อย่าง
ละเอียดจากการสังเกตบุตร 3 คน
โดยทำบันทึกไว้และสรุปว่าวัยนี้เป็นวัยที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม โดยประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหวของอวัยวะ ต่างๆของร่างกาย
ขั้นที่2...ขั้นก่อนปฏิบัติการคิดPreoperational
(อายุ18 เดือน - 7 ปี) เด็กก่อนเข้าโรงเรียนและวัยอนุบาลมีระดับเชาวน์ปัญญาอยู่ในขั้นนี้ เด็กวัยนี้มีโครงสร้างของสติปัญญา(Structure) ที่จะใช้สัญลักษณ์แทนวัตถุสิ่งของที่อยู่รอบๆตัว ได้หรือมีพัฒนาการทางด้านภาษา เด็กวัยนี้จะเริ่มด้วยการพูดเป็นประโยคและเรียนรู้คำต่างๆเพิ่มขึ้น
เด็กจะได้รู้จักคิด อย่างไรก็ตาม ความคิดของของเด็กวัยนี้ยังมีข้อจำกัดหลายอย่างเด็กก่อนเข้าโรงเรียนและวัย
อนุบาล มีระดับเชาวน์ปัญญาอยู่ในขั้นนี้
เด็กวัยนี้มีโครงสร้างของสติปัญญา(Structure) ที่จะใช้สัญลักษณ์แทนวัตถุสิ่งของที่อยู่รอบๆตัวได้
หรือมีพัฒนาการทางด้านภาษาเด็กวัยนี้จะเริ่มด้วยการ พูดเป็นประโยคและเรียนรู้คำต่างๆเพิ่มขึ้นอ้างอิงจาก : ทฤษฎีพัฒนาการเชาน์ปัญญาของเพียเจต์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น