by www.zalim-code.com

Introducing Myself

รูปภาพของฉัน
Miss Chalanda Khamjun Student ID 5411203044 Junior Field of Early Childhood Education Faculty of Education Chandrakasem Rajabhat University.

เก็บตกกีฬาสี

ภาพบรรยากาศ : กีฬาสีเชื่อมสายสัมพันธ์ สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
วันเสาร์ ที่ 2 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2556

สรุปงานวิจัย

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อสร้างเสริมการคิดตรรกคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
>>>ธัญสุตา จิรกิตตยากร<<<
กรอบแนวคิดในการวิจัย 
รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อสร้างเสริมการคิดตรรกคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

             การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างและขยายผลรูปแบบการเรียนการสอนสร้างเสริมการคิดตรรกคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ด้วยการวิจัยและพัฒนา มีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้
ขั้นที่ 1 สร้างรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อสร้างเสริมการคิดตรรกคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ 10 คน และทดลองประเมินโดยการวิจัยเชิงปฏิบัติการกับนักเรียนชั้นเด็กเล็ก ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2548 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม)
ขั้นที่ 2 ศึกษานำร่องรูปแบบการเรียนการสอน โดยการทดลองใช้กับนักเรียนอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2548 1 ห้องเรียน ที่โรงเรียนสามเสนนอก (ประชาราษฎร์อนุกูล) กรุงเทพมหานคร
ขั้นที่ 3 ทดสอบประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อสร้างเสริมการคิดตรรกคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยใช้แบบแผนการวิจัยแบบ One-Group Pretest-Posttest กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กปฐมวัย โรงเรียนสวัสดีวิทยา สังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร ใช้ระยะเวลา 6 สัปดาห์ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เป็นทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ 6 กิจกรรมการเรียนรู้ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2548
ขั้นที่ 4 ขยายผลรูปแบบการเรียนการสอนตรรกคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นครูปฐมวัย และเด็กปฐมวัยของสถานศึกษา 3 แห่ง คือ โรงเรียนสามเสนนอก(ประชาราษฎร์อนุกูล) โรงเรียนวัดโตนด และโรงเรียนสวัสดีวิทยา สังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร จัดกิจกรรมการเรียนรู้โรงเรียนละ 2 กิจกรรมการเรียนรู้รวม 6 กิจกรรมการเรียนรู้

ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้
1. รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อสร้างเสริมการคิดตรรกคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยกระบวนการเรียนการสอน 4 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 กระตุ้นการคิด เป็นการนำปัญหากรณีต่างๆ หรือสถานการณ์ต่างๆ ที่เด็กสนใจมาเป็นตัวกระตุ้นจูงใจหรือท้าทายให้เด็กเกิดการคิด และมองปัญหาโดยการสังเกต ครูจะใช้คำถามกระตุ้นการคิดอย่างต่อเนื่อง
ขั้นที่ 2 สันนิษฐานคำตอบ เป็นการให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติการคิด ได้ทดสอบการคาดเดาตามหลักการโดยใช้ประสาทสัมผัส กำหนดความคาดหวังจากความสัมพันธ์เชิงเหตุผลมองหาทางเลือกหลายๆ ทางในการแก้ปัญหา
ขั้นที่ 3 พิสูจน์เหตุผล เป็นการให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ จัดระบบและความเข้าใจโดยการสังเกต เปรียบเทียบ จำแนก และการนับ เพื่อหาเหตุผลในการตอบ ได้ตัดสินใจด้วยตัวเอง ได้คิดอย่างมีเหตุผลและเป็นขั้นตอน
ขั้นที่ 4 สรุปหลักการทางคณิตศาสตร์ เป็นการให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ มองเห็นความเป็นเหตุเป็นผลจากการลงมือปฏิบัติการคิดของตนเองและเพื่อน แล้วนำข้อมูลมาสรุปเป็นคำตอบ
               2. การจัดการเรียนการสอนตามขั้นตอนของรูปแบบการเรียนการสอนสร้างเสริมการคิดตรรกคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ทำให้เด็กปฐมวัยมีความสามารถทางการคิดตรรกคณิตศาสตร์ 4 ด้าน ดังนี้
1.  แจกแจงเหตุผล
2.  ความสัมพันธ์
3.  ความเชื่อมโยง
4.  ข้อสรุปทางคณิตศาสตร์
3. การประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อสร้างเสริมการคิดตรรกคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ผลการประเมินพบว่า
3.1 เด็กปฐมวัยมีความสามารถทางการคิดตรรกคณิตศาสตร์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อสร้างเสริมการคิดตรรกคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่รัดับ 0.1
3.2 ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ โดยสนทนากับเด็กปฐมวัยจำนวน 70 คน พบว่าหลังการทดสอบเด็กปฐมวัยมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ในระดับมาก
3.3 การขยายผลรูปแบบการเรียนการสอน ครูปฐมวัยที่ได้ใช้รูปแบบการเรียนการสอนมีความพึงพอใจและเห็นว่ารูปแบบการเรียนการสอนมีความเหมาะสมในระดับมาก                     

*ค้นคว้าเพิ่มเติม

เตรียมเด็กปฐมวัย ก้าวไปสู่พลเมืองอาเซียน
 “เตรียมตน เตรียมคน เตรียมงาน เตรียมความพร้อมของลูกหลานคือรากฐานของการพัฒนา  คำกล่าวนี้ยังใช้ได้กับกระแสอาเซียนในขณะนี้ 
คุณลักษณะเด็กไทยในประชาคมอาเซียน
คุณลักษณะของเด็กไทยในประชาคมอาเซียน กำหนดคุณลักษณะ 3 ด้าน ดังนี้
1. ด้านความรู้ 
            1.1 มีความรู้เกี่ยวกับประเทศอาเซียนในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม 
            1.2 มีความรู้เกี่ยวกับอาเซียน 
                    1.2.1 จุดกำเนิดอาเซียน
                    1.2.2 กฎบัตรอาเซียน
                    1.2.3 ประชาคมอาเซียน
                    1.2.4 ความสัมพันธ์กับภายนอกอาเซียน 
2. ด้านทักษะ/กระบวนการ
            2.1 ทักษะพื้นฐาน
                    2.1.1 สื่อสารได้อย่างน้อย 2 ภาษา (ภาษาอังกฤษ และภาษาประเทศเพื่อนบ้านอีกอย่างน้อย 1 ภาษา)
                    2.1.2 มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างสร้างสรรค์
                    2.1.3 มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสันติวิธี
                    2.1.4 มีความสามารถในการทางานและอยู่ร่วมกับผู้อื่น
            2.2 ทักษะพลเมือง/ความรับผิดชอบทางสังคม
                    2.2.1 เคารพและยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรม
                    2.2.2 มีภาวะผู้นา
                    2.2.3 เห็นปัญหาสังคมและลงมือทาเพื่อนาไปสู่การเปลี่ยนแปลง
            2.3 ทักษะการเรียนรู้และพัฒนาตน
                    3.3.1 เห็นคุณค่าความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน
                    3.3.2 มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
                    3.3.3 มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล มีวิธีคิดอย่างถูกต้อง
                    3.3.4 มีความสามารถในการจัดการ / ควบคุมตนเอง
3. ด้านเจตคติ
            3.1 มีความภูมิใจในความเป็นไทย/ ความเป็นอาเซียน
            3.2 ร่วมกันรับผิดชอบต่อประชาคมอาเซียน
            3.3 มีความตระหนักในความเป็นอาเซียน
            3.4 มีวิถีชีวิตประชาธิปไตย ยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาล สันติวิธี /สันติธรรม
            3.5 ยอมรับความแตกต่างในการนับถือศาสนา
            3.6 ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
 คุณลักษณะเด็กปฐมวัยก้าวไปสู่พลเมืองอาเซียน
          เมื่อเราได้ทราบถึงคุณลักษณะเด็กไทยในประชาคมอาเซียน การเตรียมเด็กปฐมวัย ก้าวไปสู่พลเมืองอาเซียนในส่วนของปฐมวัย ขอให้เรายึดเป้าหมายของการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยให้ชัดเจน  ให้เด็กปฐมวัยของไทยเราได้รับการส่งเสริมพัฒนาการให้พร้อมทุกด้าน  และสิ่งที่ควรปลูกฝังให้กับเด็กปฐมวัยของเรา คือ ทักษะการคิด วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษา มีเหตุผล มีทักษะทางสังคม ทักษะชีวิต และที่สำคัญมีความรักในความเป็นไทยให้มากขึ้น