by www.zalim-code.com

Introducing Myself

รูปภาพของฉัน
Miss Chalanda Khamjun Student ID 5411203044 Junior Field of Early Childhood Education Faculty of Education Chandrakasem Rajabhat University.

สัปดาห์ที่ 4

วันที่ 23 พฤศจิกายน 2555

หมายเหตุ  วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน
เนื่องจาก  ฝ่ายกิจการนักศึกษา  คณะศึกษาศาสตร์  กำหนดจัดโครงการกีฬาสีสัมพันธ์  จันทราต้านยาเสพติด  ให้แก่นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์  ระหว่างวันที่ 19 - 23 พฤศจิกายน 2555  ซึ่งตรงกับวันเวลาที่เรียนจึงได้ขออนุญาตในใบบันทึกข้อความข้างต้นค่ะ

รายละเอียดคลิ๊กที่นี่เลยค่ะ

เก็บตกจากกีฬาสี(ส้ม)จ๊ะ




สัปดาห์ที่ 3

วันที่ 16 พฤศจิกายน 2555

- อาจารย์ให้นักศึกษาจัดกลุ่ม  กลุ่มละ 3 คน  ทำกิจกรรมดังต่อไปนี้ 
1. ความหมายของคณิตศาสตร์
2. จุดประสงค์ของคณิตศาสตร์
3. ทฤษฏีการสอนของคณิตศาสตร์
4. ขอบเขตการเรียนการสอนคณิตศาสตร์
5. หลักการทางคณิตศาสตร์
(ซึ่งจะนำเอาเนื้อหาของแต่ละคนในกลุ่มมาสรุปรวมเป็นความคิดของเราเองให้สมบูรณ์)
- อาจารย์ให้ตัวแทนแต่ละกลุ่มนำเสนองานของตนให้เพื่อนฟัง
- อาจารย์สรุปเนื้อหาและวิธีการเรียนรู้ที่จะประสบความสำเร็จ 
สรุปโดย 1. นางสาวพลอยไพลิน    อาจหาญ
               2. นางสาวชลันดา           คำจันทร์
               3. นางสาวสมฤดี             โพธิกะ
1. ความหมายของคณิตศาสตร์                                                                                                             
ความหมายของคณิตศาสตร์เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับตัวเลข  มีการใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์เป็นภาษาสากลที่มีโครงสร้างแน่นอนและมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน
(อ้างอิงจาก : มาร์เชล  สโตน, ฉวีวรรณ  กีรติกร หนังสือพฤติกรรมการสอนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษาและ    สักดา  บุญโท  หนังสือความคิดเชิงวิเคราะห์)                                                                                                                            
2. จุดมุ่งหมายของคณิตศาสตร์
เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานในการคิดและการคำนวณ  สามารถนำประสบการณ์ทางด้านความรู้  ความคิด  และทักษะที่ได้ไปใช้ในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ และใช้ในชีวิตประจำวันได้ 
(อ้างอิงจาก : เรวัตร  พรหมเพ็ญ  หนังสือพฤติกรรมการสอนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา, สุเทพ  จันทร์สมศักดิ์  หนังสือการวัดและการประเมินผลในชั้นเรียนกลุ่มทักษะคณิตศาสตร์และสักดา  บุญโท  หนังสือความคิดเชิงวิเคราะห์)
3. ทฤษฏีของคณิตศาสตร์
ลำดับของการเรียนการสอนในคณิตศาสตร์เริ่มจากการทบทวนความรู้เดิมแล้วสอนความรู้ใหม่ด้วยการแสดงความคิด  ความพร้อม  การฝึกฝนหรือฝึกทักษะ  การเสริมแรงและการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
(อ้างอิงจาก : ดีนส์  เอกสารเสริมความรู้ครูคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา, วัตร  พรหมเพ็ญ  หนังสือพฤติกรรมการสอนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษาและกรมวิชาการ)
4. ขอบเขตการเรียนการสอนคณิตศาสตร์
ในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์  คุณครูและนักเรียนต้องมีความรู้  ความเข้าใจพื้นฐานในทุกเรื่องก่อน  ซึ่งเนื้อหาคณิตศาสตร์แต่ละพื้นฐานต้องมีความสัมพันธ์กันและเหมาะสมกับวัยหรือวุฒิภาวะของผู้เรียน
(อ้างอิงจาก : เอกสารเสริมความรู้ครูคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา, วัตร  พรหมเพ็ญ  หนังสือพฤติกรรมการสอนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษาและสภาครูคณิตศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา)
5. หลักการทางคณิตศาสตร์
1. กำหนดจุดมุ่งหมาย
2. จัดกิจกรรมให้หลากหลาย
3. การเรียนรู้จากการค้นพบ
4. การจัดกิจกรรมที่มีระบบ
5. ฝึกหัดหลังจากที่เรียนรู้
            ดังนั้น  กระบวนการสอนถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญสุดเพราะถ้าครูสอนทำแบบฝึกหัดแล้วเฉลย  เด็กจะไม่ได้ฝึกทักษะเลย  ทำให้เด็กเกิดความเบื่อหน่าย  ไม่อยากเรียน  และคิดว่าคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ยาก 
(อ้างอิงจาก : เอกสารเสริมความรู้ครูคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา, วัตร  พรหมเพ็ญ  หนังสือพฤติกรรมการสอนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษาและกรมวิชาการ)    

ความรู้ที่ได้รับ
วัตถุประสงค์ของการทำงานในครั้งนี้ คือ ให้นักศึกษาเห็นวิธีการเรียนรู้จากตนเอง
องค์ความรู้ที่ได้จากตนเอง
1. ค้นคว้าด้วยตนเอง
2. กลั่นกรองข้อมูลที่ได้รับ
3. เกิดเป็นความรู้ใหม่+ประสบการณ์เดิมที่มีอยู่
4. ความรู้แตกฉาน
5. เกิดองค์ความรู้ใหม่

สัปดาห์ที่ 2

วันที่ 9 พฤศจิกายน 2555

- อาจารย์ให้นักศึกษา Link รายชื่อ Blog ทุกคน เพราะอาจารย์จะเริ่มตรวจ Blog ตั้งแต่เวลา 17.00 น. ทุกวันเสาร์
     รากฐานทางปรัชญาของทฤษฎีมาจากความพยายามที่จะเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมกับประสบการณ์ใหม่  ด้วยกระบวนการที่พิสูจน์อย่างมีเหตุผล เป็นความรู้ที่เกิดขึ้นจาก  การไตร่ตรอง ซึ่งถือเป็นปรัชญาปฏิบัตินิยมประกอบกับหลักฐานทางจิตวิทยาการเรียนรู้ที่มี  อิทธิพลต่อแนวคิดของเพียเจต์เอง  ซึ่งเชื่อว่า การเรียนรู้เกิดขึ้นจาก  การปรับตัวเข้าสู่สภาวะสมดุลย์ (Equilibrium)  ระหว่างอินทรีย์และสิ่งแวดล้อม สรุปแล้วในพัฒนาการเชาวน์ปัญญาบุคคลต้องมีการปรับตัวซึ่งประกอบด้วยกระบวนการสำคัญ 2 อย่าง คือ การดูดซึมหรือซึมซาบเข้าสู่โครงสร้างทางปัญญา  (Assimilation) และ การปรับโครงสร้างทางสติปัญญา  (Accomodation)

* คณิตศาสตร์เป็นเรื่องราวที่อยู่รอบตัวของเรา เช่น ห้องเรียนของเรา ได้แก่
พัดลม มี 5 ใบพัด / เป็นวงกลม
หลอดไฟ = มี 2 หลอดใน 1 ราง / เป็นแท่งกลม
โต๊ะเรียน = เป็นสี่เหลี่ยม
นักศึกษา = เป็นจำนวน 

ฯลฯ
- อาจารย์สั่งงานตามหัวข้อต่อไปนี้  ส่งสัปดาห์หน้า (16 พฤศจิกายน 2555)
          ไปสำรวจหนังสือคณิตศาสตร์ว่ามีอะไรบ้าง ดังต่อไปนี้
1. เขียนชื่อเรื่อง/ผู้แต่ง/ปี พ.ศ. ที่พิมพ์/เลขประจำหนังสือ
2. หาความหมายของคำว่า คณิตศาสตร์ มา 1 คน (เขียนนาม-ปี)
3. เขียนวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายของคณิตศาสตร์ มา 1 คน
4. หาการสอนหรือการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์(ขอบข่าย) มา 1 คน
5. หาหลักการสอนคณิตศาสตร์
อาจารย์อธิบายถึงทฤษฎีของเพียเจท์ : การพัฒนาการทางสติปัญญาโดยการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5

*ค้นคว้าเพิ่มเติม
เพียเจต์ กล่าวว่า ระหว่างระยะเวลาตั้งแต่ทารกจนถึงวัยรุ่น คนเราจะค่อยๆสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้นตามลำดับขั้น โดยเพียเจต์ได้แบ่งลำดับขั้นของพัฒนาการเชาวน์ปัญญาของมนุษย์ ไว้ ขั้น ซึ่งเป็นขั้นพัฒนาการเชาวน์ปัญญา ดังนี้   
สำหรับเด็กปฐมวัยมี 2 ขั้นดังนี้
ขั้นที่1...ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว Sensorimotor (แรกเกิด - ขวบ)  เพียเจต์เป็นนักจิตวิทยาคนแรกที่ได้ศึกษาระดับเชาวน์ปัญญาของเด็กวัยนี้ไว้อย่าง  ละเอียดจากการสังเกตบุตร 3 คน   โดยทำบันทึกไว้และสรุปว่าวัยนี้เป็นวัยที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม โดยประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหวของอวัยวะ ต่างๆของร่างกาย       
                ขั้นที่2...ขั้นก่อนปฏิบัติการคิดPreoperational  (อายุ18 เดือน - 7 ปี) เด็กก่อนเข้าโรงเรียนและวัยอนุบาลมีระดับเชาวน์ปัญญาอยู่ในขั้นนี้ เด็กวัยนี้มีโครงสร้างของสติปัญญา(Structure) ที่จะใช้สัญลักษณ์แทนวัตถุสิ่งของที่อยู่รอบๆตัว ได้หรือมีพัฒนาการทางด้านภาษา เด็กวัยนี้จะเริ่มด้วยการพูดเป็นประโยคและเรียนรู้คำต่างๆเพิ่มขึ้น  เด็กจะได้รู้จักคิด อย่างไรก็ตาม  ความคิดของของเด็กวัยนี้ยังมีข้อจำกัดหลายอย่างเด็กก่อนเข้าโรงเรียนและวัย อนุบาล  มีระดับเชาวน์ปัญญาอยู่ในขั้นนี้ เด็กวัยนี้มีโครงสร้างของสติปัญญา(Structure)  ที่จะใช้สัญลักษณ์แทนวัตถุสิ่งของที่อยู่รอบๆตัวได้  หรือมีพัฒนาการทางด้านภาษาเด็กวัยนี้จะเริ่มด้วยการ พูดเป็นประโยคและเรียนรู้คำต่างๆเพิ่มขึ้น

อ้างอิงจาก : ทฤษฎีพัฒนาการเชาน์ปัญญาของเพียเจต์

พัฒนาการการสอนคณิตศาสตร์ : การเรียนการสอนขั้นพื้นฐานระดับปฐมวัย


สำหรับเด็กวัยเนิร์สเซอรี และอนุบาลหนึ่งของโรงเรียนประถมเกรทบาร์ ที่เบอร์มิงแฮม อแมนดา แมคเคนนา หัวหน้าครูชั้นเด็กเล็ก เชื่อว่าการเรียนคณิตศาสตร์ควรจะสนุก และเป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์ประจำวัน การสอนที่เน้นหลักพึ่งตัวเอง และเรียนแบบเล่นคือหัวใจของการพัฒนาด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กเล็ก ในขั้นเตรียมความพร้อมก่อนเข้าเรียนที่โรงเรียนเกรทบาร์แห่งนี้ จุดสนใจของโรงเรียนในตอนนี้ มุ่งไปที่การส่งเสริมให้เด็กรู้จักแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ด้วยตัวเอง โดยพัฒนาทักษะต่าง ๆ เช่น การจดจำตัวเลข ลำดับที่ของตัวเลข และการคำนวณ ครูพี่เลี้ยงสาธิตให้เราเห็นวิธีประเมินผลเด็ก โดยผ่านทางการเฝ้าสังเกตการณ์วันต่อวัน และนำผลที่ได้จากการเฝ้าสังเกตการณ์นี้ไปเป็นข้อมูลในการประชุมครู และวางแผนอนาคตต่อไป โรงเรียนเชื่ออย่างแน่วแน่ว่าถ้าครูสามารถจูงใจให้เด็ก ๆ สนุกกับวิชาคณิตศาสตร์ตั้งแต่วัยเด็ก ก็จะส่งผลต่อการเรียนรู้อย่างทั่วถึงทั้งโรงเรียน

สิ่งที่ได้รับ :

เป็นการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์ที่สนุกสนาน ใช้อุปกรณ์ง่ายๆ เด็กได้พัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ คณิตศาสตร์เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน เมื่อเด็กได้รับการปูพื้นฐานที่ดีเด็กจะซึมซับและนำไปต่อยอดได้ การจัดมุมคณิตศาสตร์ในชั้นเรียนของดิฉันยังมีกิจกรรมไม่มากเท่าไหร่ ดิฉันจะนำประสบการณืนี้ไปจัดหาวัสดุอุปกรณ์ใกล้ตัวเด็ก ไม่ต้องซื้อหานำวัสดุเหลือใช้มาผลิตสื่อง่ายๆ ใหเด็กได้เรียนรู้ และทำให้เด็กมีความสุข คาดหวังจะได้เห็นรอยยิ้มและเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนด้วยตนเองอย่างอิสระมากขึ้น

ในการเรียนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กเด็กจะมองว่าเป็นเรื่องยากแม้แต่ผู้ใหญ่หลายๆคนก็ยังไม่ชอบเรียนคณิตศาตร์เช่นกันไม่ชอบคิดเลขแต่ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนนี้ครูจะสอนให้เด็กจดจำตัวเลขรู้จักลำดับของตัวเลขมีการคำนวณ ในการสอนคณิศาสตร์กฌจะสอนให้เด็กรู้สึกสนุกไม่เครียดมีการใช้เพลง ครูจึงเป็นผู้ที่สำคัญในการสร้างแรงจูงใจในการเรียนคณิตศาสตร์ เด็กสามารถเรียนรู้คณิตได้ย่างมีความสุขครูผู้สอนควรสอนให้คณิตศาสตร์เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน การสอนของคุณครูเป็นการสอนที่น่าสนใจและสามารถนำไปใช้กับเด็กปฐมวัยได้ดี

ประวัติส่วนตัว


สัปดาห์ที่ 1

วันที่ 2 พฤศจิกายน 2555

     วันนี้เป็นสัปดาห์แรกของการเรียนการสอนในรายวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย อาจารย์ได้ปฐมนิเทศนักศึกษาและร่วมกันวางข้อตกลงในการเรียนรายวิชานี้
     
     อาจารย์ให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัด 2 ข้อ ดังนี้
1. ให้นักศึกษาเขียนความเข้าใจของเราว่า "คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย" คืออะไร (2 ประโยค)
     1.1  การเรียนรู้ในเรื่องของการจำแนก  การจัดหมวดหมู่  การวัด  การตวง  และตัวเลข  เป็นต้น
     1.2  การเรียนรู้ในเรื่องของการลดและการเพิ่มจำนวน
2. ให้นักศึกษาเขียนความคาดหวังว่าเรียนวิชานี้ทำให้เรารู้เรื่องหรือประสบการณ์อะไรบ้าง
     2.1  ได้รู้ความหมาย  ความสำคัญของรายวิชานี้
     2.2  สามารถผลิตสื่อที่สร้างสรรค์และสามารถนำไปใช้กับเด็กได้จริง
     2.3  การประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยในแต่ละด้านตามวัยที่เด็กควรจะได้รับ
*เราต้องรู้จักเด็กปฐมวัยก่อนและทำความเข้าใจว่าเด็กแต่ละคนแตกต่างกัน

ค้นคว้าเพิ่มเติม

คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี ไสยวรรณ
    การจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กควรเน้นการให้เด็กได้มีโอกาสจัดกระทำ กับวัตถุประสงค์ต่าง ๆ เพราะเด็กในวัยนี้เรียนรู้โดยอาศัยประสาทสัมผัสรับรู้และการเคลื่อนไหว เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญา การจัดการเรียนรู้เน้นให้เด็กได้พัฒนาประสาทสัมผัสให้มากที่สุด และกระตุ้นให้เด็กได้คิดและมีโอกาสจัดกระทำ หรือลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งเปิดโอกาสให้เด็กได้สัมผัสแตะต้อง ได้เห็นสิ่งต่าง ๆ หรือเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ โดยผ่านประสาทสัมผัสแตะต้อง ได้เห็นสิ่งใหม่ ๆ ซึ่งวิธีการดังกล่าวจะช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ รอบตัว
      การจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยหมายถึง การจัดสภาพการณ์ในชีวิตประจำวันของเด็กเป็นฐานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ซึ่งครูต้องวางแผนการจัดการเรียนรู้เป็นอย่างดี ประกอบด้วยกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กค้นคว้า แก้ปัญหา พัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอด ที่เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ เด็กแต่ละวัยจะมีความสามารถเฉพาะ เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง บรรยากาศการเรียนต้องไม่เคร่งเครียดเด็กรู้สึกสบายๆในขณะเรียน เห็นความสัมพันธ์ของคณิตศาสตร์ในธรรมชาติ บ้าน โรงเรียน กิจกรรมสอดคล้องกับชีวิตประจำวันและเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมจะช่วยพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอดได้ดีขึ้น

    ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วยความสามารถต่างๆดังนี้

  1. การจำแนกประเภท
  2. การจัดหมวดหมู่
  3. การเรียงลำดับ
  4. การเปรียบเทียบ
  5. รูปร่างรูปทรง
  6. พื้นที่
  7. การชั่งตวงวัด
  8. การนับ
  9. การรู้จักตัวเลข
  10. รู้จักความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนกับตัวเลข
  11. เวลา
  12. การเพิ่มและลดจำนวน
   จำนวนและตัวเลข เด็กปฐมวัยหากได้เรียนรู้จากการปฏิบัติโดยการใช้สื่อของจริงจะส่งผลให้มีทักษะการรับรู้เชิงจำนวนเนื่องจากธรรมชาติได้สร้างให้สมองของเด็กมีบริเวณที่เกี่ยวข้อง กับการรับรู้เชิงจำนวน ส่วนของสมองอย่างน้อย 3บริเวณที่เกี่ยวข้องกับทักษะการรับรู้เชิงจำนวน สองส่วนแรกอยู่ที่สมองทั้งซีกซ้ายและขวาเกี่ยวข้องกับสัญลักษณ์ตัวเลข และบริเวณที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเปรียบเทียบจำนวน และบริเวณสุดท้ายอยู่ที่สมองซีกซ้ายคือ ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการนับปากเปล่าและความจำเกี่ยวกับจำนวน การคำนวณ โดยสมองทั้ง 3ส่วนจะทำงานร่วมกัน พัฒนาการด้านการรับรู้เชิงจำนวนและคณิตศาสตร์เริ่มตั้งแต่ปฐมวัยและพัฒนาเรื่อยไปจนถึงวัยผู้ใหญ่

Download เอกสารที่เกี่ยวข้อง