by www.zalim-code.com

Introducing Myself

รูปภาพของฉัน
Miss Chalanda Khamjun Student ID 5411203044 Junior Field of Early Childhood Education Faculty of Education Chandrakasem Rajabhat University.

เก็บตกกีฬาสี

ภาพบรรยากาศ : กีฬาสีเชื่อมสายสัมพันธ์ สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
วันเสาร์ ที่ 2 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2556

สรุปงานวิจัย

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อสร้างเสริมการคิดตรรกคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
>>>ธัญสุตา จิรกิตตยากร<<<
กรอบแนวคิดในการวิจัย 
รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อสร้างเสริมการคิดตรรกคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

             การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างและขยายผลรูปแบบการเรียนการสอนสร้างเสริมการคิดตรรกคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ด้วยการวิจัยและพัฒนา มีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้
ขั้นที่ 1 สร้างรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อสร้างเสริมการคิดตรรกคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ 10 คน และทดลองประเมินโดยการวิจัยเชิงปฏิบัติการกับนักเรียนชั้นเด็กเล็ก ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2548 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม)
ขั้นที่ 2 ศึกษานำร่องรูปแบบการเรียนการสอน โดยการทดลองใช้กับนักเรียนอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2548 1 ห้องเรียน ที่โรงเรียนสามเสนนอก (ประชาราษฎร์อนุกูล) กรุงเทพมหานคร
ขั้นที่ 3 ทดสอบประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อสร้างเสริมการคิดตรรกคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยใช้แบบแผนการวิจัยแบบ One-Group Pretest-Posttest กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กปฐมวัย โรงเรียนสวัสดีวิทยา สังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร ใช้ระยะเวลา 6 สัปดาห์ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เป็นทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ 6 กิจกรรมการเรียนรู้ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2548
ขั้นที่ 4 ขยายผลรูปแบบการเรียนการสอนตรรกคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นครูปฐมวัย และเด็กปฐมวัยของสถานศึกษา 3 แห่ง คือ โรงเรียนสามเสนนอก(ประชาราษฎร์อนุกูล) โรงเรียนวัดโตนด และโรงเรียนสวัสดีวิทยา สังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร จัดกิจกรรมการเรียนรู้โรงเรียนละ 2 กิจกรรมการเรียนรู้รวม 6 กิจกรรมการเรียนรู้

ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้
1. รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อสร้างเสริมการคิดตรรกคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยกระบวนการเรียนการสอน 4 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 กระตุ้นการคิด เป็นการนำปัญหากรณีต่างๆ หรือสถานการณ์ต่างๆ ที่เด็กสนใจมาเป็นตัวกระตุ้นจูงใจหรือท้าทายให้เด็กเกิดการคิด และมองปัญหาโดยการสังเกต ครูจะใช้คำถามกระตุ้นการคิดอย่างต่อเนื่อง
ขั้นที่ 2 สันนิษฐานคำตอบ เป็นการให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติการคิด ได้ทดสอบการคาดเดาตามหลักการโดยใช้ประสาทสัมผัส กำหนดความคาดหวังจากความสัมพันธ์เชิงเหตุผลมองหาทางเลือกหลายๆ ทางในการแก้ปัญหา
ขั้นที่ 3 พิสูจน์เหตุผล เป็นการให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ จัดระบบและความเข้าใจโดยการสังเกต เปรียบเทียบ จำแนก และการนับ เพื่อหาเหตุผลในการตอบ ได้ตัดสินใจด้วยตัวเอง ได้คิดอย่างมีเหตุผลและเป็นขั้นตอน
ขั้นที่ 4 สรุปหลักการทางคณิตศาสตร์ เป็นการให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ มองเห็นความเป็นเหตุเป็นผลจากการลงมือปฏิบัติการคิดของตนเองและเพื่อน แล้วนำข้อมูลมาสรุปเป็นคำตอบ
               2. การจัดการเรียนการสอนตามขั้นตอนของรูปแบบการเรียนการสอนสร้างเสริมการคิดตรรกคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ทำให้เด็กปฐมวัยมีความสามารถทางการคิดตรรกคณิตศาสตร์ 4 ด้าน ดังนี้
1.  แจกแจงเหตุผล
2.  ความสัมพันธ์
3.  ความเชื่อมโยง
4.  ข้อสรุปทางคณิตศาสตร์
3. การประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อสร้างเสริมการคิดตรรกคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ผลการประเมินพบว่า
3.1 เด็กปฐมวัยมีความสามารถทางการคิดตรรกคณิตศาสตร์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อสร้างเสริมการคิดตรรกคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่รัดับ 0.1
3.2 ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ โดยสนทนากับเด็กปฐมวัยจำนวน 70 คน พบว่าหลังการทดสอบเด็กปฐมวัยมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ในระดับมาก
3.3 การขยายผลรูปแบบการเรียนการสอน ครูปฐมวัยที่ได้ใช้รูปแบบการเรียนการสอนมีความพึงพอใจและเห็นว่ารูปแบบการเรียนการสอนมีความเหมาะสมในระดับมาก                     

*ค้นคว้าเพิ่มเติม

เตรียมเด็กปฐมวัย ก้าวไปสู่พลเมืองอาเซียน
 “เตรียมตน เตรียมคน เตรียมงาน เตรียมความพร้อมของลูกหลานคือรากฐานของการพัฒนา  คำกล่าวนี้ยังใช้ได้กับกระแสอาเซียนในขณะนี้ 
คุณลักษณะเด็กไทยในประชาคมอาเซียน
คุณลักษณะของเด็กไทยในประชาคมอาเซียน กำหนดคุณลักษณะ 3 ด้าน ดังนี้
1. ด้านความรู้ 
            1.1 มีความรู้เกี่ยวกับประเทศอาเซียนในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม 
            1.2 มีความรู้เกี่ยวกับอาเซียน 
                    1.2.1 จุดกำเนิดอาเซียน
                    1.2.2 กฎบัตรอาเซียน
                    1.2.3 ประชาคมอาเซียน
                    1.2.4 ความสัมพันธ์กับภายนอกอาเซียน 
2. ด้านทักษะ/กระบวนการ
            2.1 ทักษะพื้นฐาน
                    2.1.1 สื่อสารได้อย่างน้อย 2 ภาษา (ภาษาอังกฤษ และภาษาประเทศเพื่อนบ้านอีกอย่างน้อย 1 ภาษา)
                    2.1.2 มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างสร้างสรรค์
                    2.1.3 มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสันติวิธี
                    2.1.4 มีความสามารถในการทางานและอยู่ร่วมกับผู้อื่น
            2.2 ทักษะพลเมือง/ความรับผิดชอบทางสังคม
                    2.2.1 เคารพและยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรม
                    2.2.2 มีภาวะผู้นา
                    2.2.3 เห็นปัญหาสังคมและลงมือทาเพื่อนาไปสู่การเปลี่ยนแปลง
            2.3 ทักษะการเรียนรู้และพัฒนาตน
                    3.3.1 เห็นคุณค่าความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน
                    3.3.2 มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
                    3.3.3 มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล มีวิธีคิดอย่างถูกต้อง
                    3.3.4 มีความสามารถในการจัดการ / ควบคุมตนเอง
3. ด้านเจตคติ
            3.1 มีความภูมิใจในความเป็นไทย/ ความเป็นอาเซียน
            3.2 ร่วมกันรับผิดชอบต่อประชาคมอาเซียน
            3.3 มีความตระหนักในความเป็นอาเซียน
            3.4 มีวิถีชีวิตประชาธิปไตย ยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาล สันติวิธี /สันติธรรม
            3.5 ยอมรับความแตกต่างในการนับถือศาสนา
            3.6 ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
 คุณลักษณะเด็กปฐมวัยก้าวไปสู่พลเมืองอาเซียน
          เมื่อเราได้ทราบถึงคุณลักษณะเด็กไทยในประชาคมอาเซียน การเตรียมเด็กปฐมวัย ก้าวไปสู่พลเมืองอาเซียนในส่วนของปฐมวัย ขอให้เรายึดเป้าหมายของการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยให้ชัดเจน  ให้เด็กปฐมวัยของไทยเราได้รับการส่งเสริมพัฒนาการให้พร้อมทุกด้าน  และสิ่งที่ควรปลูกฝังให้กับเด็กปฐมวัยของเรา คือ ทักษะการคิด วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษา มีเหตุผล มีทักษะทางสังคม ทักษะชีวิต และที่สำคัญมีความรักในความเป็นไทยให้มากขึ้น

*ค้นคว้าเพิ่มเติม

เด็กไทยกับคณิตศาสตร์
วิชาคณิตศาสตร์ เป็นวิชาที่ว่าด้วย การคิดคำนวณ แสดงเหตุ และผล ที่บอกด้วยตัวเลข หรือว่าด้วยความสัมพันธ์ ถ้าผู้เรียนไม่ได้มีความเข้าใจมาแต่แรก เนื่องมาจากเวลาที่ไม่พอเพียงระหว่างครูและผู้เรียนที่มีให้กันในการเรียนการสอนหรือแนวทางในการถ่ายทอดเนื้อหาสาระของครูที่มีให้แก่ผู้เรียน ซึ่งไม่สามารถก่อให้เกิดความสนใจที่มากพอให้แก่ผู้เรียน
ผลจากปัญหาจะทำให้คณิตศาสตร์ได้ถูกลดทอนความสำคัญลงไป จนทำให้ผู้เรียนมองข้าม ทั้งที่วิชานี้เป็นวิชาที่นำไปสู่จินตนาการและผู้เรียนสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ในความเป็นจริง วิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ว่าด้วยกระบวนการคิดที่สนุกสนาน และสามารถจับต้องและลงมือปฏิบัติได้จริง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้ที่ถ่ายทอดเนื้อหาวิชาจะทำการถ่ายทอดและชี้แนะทักษะในการคิดคำนวณ จะสามารถทำการถ่ายทอดเรื่องที่ยากให้กลายเป็นสิ่งที่แสนจะง่ายดายและสนุกสนานได้อย่างไร
เด็กไทยยังคงอยู่กับการท่องจำ และพยายามจดจำหลักการ โดยที่ยังไม่เข้าใจในเนื้อหาที่ตนเองท่องมากมายสักเท่าไหร่หรือยังมองไม่เห็นความสำคัญในประโยชน์ของการนำไปใช้ในชีวิตจริงได้อย่างไร ในลักษณะการสอนในแบบของทีมงานครูอลิส ที่ได้คัดสรรครูที่มีคุณภาพในการถ่ายทอดเนื้อหา และมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาแนวคิดให้ผู้เรียนได้คิดอย่างเป็นระบบ และ อีกทั้งยังได้ฝึกให้ผู้เรียน ได้ลองคิดด้วยทักษะส่วนตัว ที่ผู้เรียนนั้นมีอยู่แล้วในตนเอง ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนสามารถรู้ถึงทักษะทางคณิตศาสตร์ ที่มีอยู่ในตัวเอง และรู้จักที่จะนำไปใช้ได้จริงโดยตัวของผู้เรียนเอง ซึ่งผู้เรียนจะรู้จักคิด และแก้ไขปัญหา และวิเคราะห์โจทย์ได้ตรงประเด็น เพราะคณิตศาสตร์ ไม่ได้มีเฉพาะแค่ตัวเลขเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

หมายเหตุ

วิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  จัดทำการสอบในตาราง 
วันอังคาร ที่ 26 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 
 เวลา 10:10-11:40 น.  ที่ห้องเรียน 224

สัปดาห์ที่ 16

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556

-วันสุดท้ายของการเรียนการสอนในภาคเรียน 2/2555
-อาจารย์นำผลงานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยมาให้นักศึกษาดูเป็นตัวอย่าง เช่น นม  ในเรื่องของการนำเสนอผ่านทั้ง 5 สาระการเรียนรู้ตามมาตรฐานคณิตศาสตร์
-อาจารย์ให้นักศึกษากลุ่มที่เหลือค้างจากสัปดาห์ก่อน  ออกมานำเสนอสาธิตการสอบสอนตามหน่วยของกลุ่มตนเอง
สาธิตการสอบสอนมี 2 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 หน่วยข้าว


กลุ่มที่ 2 หน่วยผลไม้
-กลุ่มที่ยังไม่ได้นำเสนอ(กลุ่มของดิฉัน) เนื่องด้วยไม่ทันเวลา ให้เขียนใส่กระดาษแทนการนำเสนอ ทั้ง 5 วัน ตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์ ต้องเขียนให้ละเอียด และเมื่ออาจารย์ถามต้องตอบให้ได้

สัปดาห์ที่ 15

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2556

กิจกรรมในห้องเรียน
         อาจารย์ให้ส่ง Mind Mapping มาตรฐานคณิตศาสตร์และให้แต่ละกลุ่มออกมาสาธิตการสอบสอนในหน่วยของตนเอง  ยกตัวอย่าง หน่วยผลไม้ ดังนี้
วันจันทร์  เรื่องชนิดของผลไม้
วิธีการสอน
1. เด็กๆ คิดว่าอะไรอยู่ในตะกร้า (มีผ้าคลุมตะกร้าเพื่อให้เด็กคาดคะเนความน่าจะเป็น)
2. ถ้าครูเปิดผ้าออกแล้วมีคำตอบของเด็กอยู่ในตะกร้านี้ให้เด็กปรบมือให้ตนเอง 
3. การนับ คือ มีอยู่ 1 เพิ่มอีก 1 เป็น 2 มีอยู่ 2 เพิ่มอีก 1 เป็น 3 ... (พูดและปักผลไม้ลงให้เด็กเห็นลำดับ) 
4. ครูใช้ตัวเลขกำกับ แทนค่า หรือมีแผ่นกระดาษให้เด็กเขียนแล้วเอาวางตรงค่านั้น
5.  จัดกลุ่ม ครูตั้งเกณฑ์ คือ ให้เด็กๆ หยิบผลไม้ที่มีสีแดงมาปักไว้ข้างหน้า (การปักต้องปักมาจากทางซ้ายเพื่อจะได้เรียงลำดับได้ถูกต้อง)
6.  ผลไม้ที่มีสีแดงมี 2 ผลของจำนวนทั้งหมด กับผลไม้ที่ไม่มีสีแดงมี 4 ผลของจำนวนทั้งหมด
วันอังคาร  เรื่องลักษณะ  
การสอน
1. ส่งผลส้มกับสับปะรดให้เด็กๆ ได้สัมผัส
2. ให้เด็กช่วยกันตอบ ดังนี้
3. นำเสนอข้อมูลให้เด็กเห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น (แผนภูมิวงกลม)
วันพุธ  เรื่องประโยชน์
การสอน 
ใช้เทคนิคการเล่านิทาน ตอนจบครูถามเด็กๆ ว่าชอบดื่มน้ำผลอะไรระหว่างน้ำส้มกับน้ำสับปะรด สามารถแสดงกราฟได้ ดังนี้
วันพฤหัสบดี เรื่องการทำอาหาร 
การสอน
1. แบ่งครึ่งของผลไม้
2. แบ่งผลไม้ออกเป็น 2 ส่วน 
3. นำแต่ละส่วนมาประกอบอาหารที่แตกต่างกัน เช่น แบ่งสับปะรดเป็น 2 ส่วน  ทำสับปะรดเชื่อม 1 ส่วน และอีก 1 ส่วนทำน้ำสับปะรด
งานที่อาจารย์สั่ง :  สัปดาห์ต่อไปกลุ่มที่เหลือให้ออกมาสาธิตการสอบสอนให้ดีกว่ากลุ่มที่สอบในวันนี้ การเตรียมตัวต้องพร้อมและใช้เวลาไม่มาก
เก็บตกจากการสอบสอน

สัปดาห์ที่ 14

วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556

หมายเหตุ : ไม่มีการเรียนการสอน
งานที่อาจารย์มอบหมาย คือ 
-อาจารย์ให้นักศึกษาทำ Mind Mapping มาตรฐานคณิตศาสตร์ส่งในสัปดาห์ต่อไป
-ให้นักศึกษาทุกคนเตรียมแผนและเทคนิคในการสอนเรื่องหน่วย (ที่กลุ่มของตนเองกำหนดไว้ในสัปดาห์ก่อน) คนละ วัน ไม่เกิน 20 นาที เพื่อสอบการสอนในสัปดาห์ต่อไป
-ดิฉันสอนเรื่องกล้วย  ในวันอังคาร หัวข้อคือ ลักษณะของกล้วย


*ค้นคว้าเพิ่มเติม
             เด็กปฐมวัย เป็นวัยเริ่มต้นแห่งการเรียนรู้ มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกต ชอบเล่น และสำรวจสิ่งต่างๆ รอบตัว คณิตศาสตร์สามารถพัฒนาเสริมสร้างให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติและสิ่งต่างๆ รอบตัว การที่เด็กมีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ ไม่เพียงส่งผลให้เด็กประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่จะส่งผลต่อการเรียนรู้ในศาสตร์อื่น ๆ คณิตศาสตร์จึงมีบทบาทสำคัญทั้งในการเรียนรู้และมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต
เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์
             การเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย มุ่งหวังให้เด็กทุกคนได้เตรียมความพร้อมด้านต่าง ทางคณิตศาสตร์อันเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา โดยกำหนดสาระหลักที่จำเป็นสำหรับเด็ก ได้แก่ จำนวนและการดำเนินการ จำนวน การรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม การวัด ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา เรขาคณิต ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ พีชคณิต แบบรูปและความสัมพันธ์ การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดสร้างสรรค์


สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย
             มาตรฐานการเรียนรู้ เป็นเป้าหมายสำคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็ก รวมทั้งเป็นแนวทางในการกำกับ ตรวจสอบ และประเมินผล มาตรฐานการเรียนรู้จัดให้อยู่ภายใต้สาระหลัก ดังนี้
             สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ 
มาตรฐาน ค.ป. 1.1 : เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวน และการใช้จำนวนในชีวิตจริง
             สาระที่ 2 : การวัด 
มาตรฐาน ค.ป. 2.1 : เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา
             สาระที่ 3 : เรขาคณิต 
มาตรฐาน ค.ป. 3.1 : รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทางมาตรฐาน 
                   ค.ป. 3.2 : รู้จัก จำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ
             สาระที่ 4 : พีชคณิต 

มาตรฐาน ค.ป. 4.1 : เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์
             สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น 
มาตรฐาน ค.ป. 5.1 : รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม และนำเสนอ
             สาระที่ 6 : ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ครูควรคอยสอดแทรกทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ตามความเหมาะสมกับระดับอายุ


ข้อมูลจากเจาะลึก....เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์

การศึกษาดูงานที่โรงเรียนอนุบาลสามเสน

วันที่ 28 มกราคม 2556

สัปดาห์ที่ 13

วันที่ 25 มกราคม 2556

Mind Mapping  มาตรฐานคณิตศาสตร์
-อาจารย์ทบทวนมาตรฐานคณิตศาสตร์โดยการยกตัวอย่าง หน่วย "ไข่"  ตามหัวข้อดังนี้
1. ชนิดหรือพันธุ์ของไข่ (วันจันทร์)
2. ลักษณะของไข่ (วันอังคาร)
3. ประโยชน์ของไข่ (วันพุธ)
4. การขยายพันธุ์ของไข่ (วันพฤหัสบดี)
5. ข้อควรระวัง (วันศุกร์)
-อาจารย์ให้นักศึกษาสอบการสอนในสัปดาห์ต่อไป(วันศุกร์ที่ 8 เดือนกุมภาพันธ์ 2556) ซึ่งในกลุ่มจะมี 5 คน คนละ 1 วัน วันละไม่เกิน 20 นาที
-อาจารย์ให้นักศึกษาทำ Mind Mapping มาตรฐานคณิตศาสตร์ส่งในสัปดาห์ต่อไป(วันศุกร์ที่ 8 เดือนกุมภาพันธ์ 2556)

สัปดาห์ที่ 12

วันที่ 18 มกราคม 2556

-อาจารย์ให้นักศึกษาส่งงาน Mind Mapping (กลุ่ม) พร้อมแนบ (งานเดี่ยว) ส่งด้วย
-อาจารย์ให้คำแนะนำในการทำงาน  ดังนี้
วิธีการเลือกหน่วยที่จะนำมาสอนเด็กปฐมวัย
1.  เรื่องใกล้ตัว
2.  มีประโยชน์กับเด็ก                                                                                         
3.  เด็กรู้จัก              
4.  เสริมสร้างพัฒนาการ   
5.  เป็นเรื่องง่ายๆ เด็กทำได้ 
6.  เหมาะสมกับวัยของเด็ก
7.  มีความสำคัญกับเด็ก
8.  มีผลกระทบกับเด็ก
*ถ้าเด็กอยากรู้เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง อันดับแรกครูควรสำรวจโรงเรียนว่าอะไรที่จะสามารถนำมาบูรณาการได้ ที่ทำให้เด็กเข้าใจและตามกำลังเราเท่าที่ครูคนหนึ่งทำได้
- อาจารย์ยกตัวอย่าง Mind Mapping ของเพื่อนซึ่งเป็นเรื่อง "ไข่"
วันจันทร์ : เรื่องชนิดของไข่
ครู : เด็กๆ รู้จักไข่อะไรบ้าง!!! เด็กๆ จะตอบชนิดของไข่ที่รู้จักหรือเคยเห็นมาเยอะแยะ ซึ่งได้คณิตศาสตร์ด้านทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์...
ครู : อยากรู้ไหมว่าในตะกร้าของครูมีไข่อะไรบ้าง (เป็นการสอนให้เด็กมีส่วนร่วม ครูเปิดตะกร้าให้เด็กดูว่ามีอะไรบ้าง > ไข่เป็ด > ไข่ไก่ ฯลฯ
ครู : ไข่ในตะกร้ามีทั้งหมดกี่ฟอง ได้คณิตศาสตร์เรื่องจำนวน การนับ (การสอนนับกับเด็กที่เล็กๆ คือ นับ 1 เพิ่มอีก 1 เป็น 2 มี 2 เพิ่มอีก 1 เป็น 3 ............. เรื่อยๆ จนครบ 10
การจัดกลุ่มตั้งเกณฑ์ : เลือกไข่สีขาว ให้เด็กหยิบไข่ที่มีสีขาวลงในตะกร้าที่ครูกำหนด
การแยกประเภท : ไข่ไก่มี 5 ฟอง ไข่เป็ดมี 5 ฟอง มีไข่ทั้งหมด 10 ฟอง
เปรียบเทียบจับคู่ 1:1 (เรื่องจำนวน) เช่น จับคู่ไข่เป็ด ไข่ไก่โดยที่ไม่เหลือ สรุปว่าไข่ทั้ง 2 ประเภทเท่ากัน
นำเสนอข้อมูล : วาดรูปวงกลมแบ่งช่องให้ได้ 10 ช่อง แล้ววาดไข่เป็ด 5 ช่อง ไข่ไก่ 5 ช่อง  กำหนดรูปไข่ทั้ง 2 ประเภทนี้ เพื่อให้เด็กเห็นความแตกต่างที่ชัดเจน
วันอังคาร : เรื่องลักษณะ
สี : ไข่เป็ดสีขาว/ไข่ไก่สีครีม
ขนาด : ขนาดเท่ากันไหม > ไม่เท่า  -ไข่ชนิดไหนเป็นยังไง > ไข่เป็ดใหญ่กว่าไข่ไก่
รูปทรง : ไข่ทั้ง 2 ชนิดนี้เป็นวงรี
ส่วนประกอบ : ไข่เป็ด/ไข่ไก่ > ไข่แดง ไข่ขาว และเปลือกไข่
เด็กๆ ว่าไข่มีรูปร่างเหมือนอะไร (เด็กได้เรื่องจินตนาการ การเชื่อมโยง และการเปรียบเทียบ)
*จากการเรียนเรื่องไข่เด็กได้ลงมือสัมผัสและกระทำเอง จากการตอบคำถามและการหยิบไข่เอง...

อาจารย์สั่งงาน อาจารย์ให้นักศึกษาทุกกลุ่มนำงานไปแก้ไขให้ดีขึ้นกว่าเดิม