by www.zalim-code.com

Introducing Myself

รูปภาพของฉัน
Miss Chalanda Khamjun Student ID 5411203044 Junior Field of Early Childhood Education Faculty of Education Chandrakasem Rajabhat University.

สัปดาห์ที่ 7

วันที่ 14 ธันวาคม 2555

-อาจารย์ทบทวนความรู้เดิมเกี่ยวกับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เป็นการนำเข้าสู่บทเรียน
-อาจารย์ยกตัวอย่างเรื่องเกณฑ์หรือมาตรฐานทางคณิตศาสตร์ที่มีอยู่ในชีวิตประจำวันของเรา เช่น มาตรฐานของอาหารที่เรารับประทานในแต่ละมื้อ  และมาตรฐานของมหาวิทยาลัยที่เรากำลังศึกษา  เป็นต้น
-อาจารย์อธิบายถึงมาตรฐานสาระการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ดังนี้
สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ (Number and Operations)
     มาตรฐาน ค 1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวน และการใช้จำนวนในชีวิตจริง
     มาตรฐาน ค 1.2 เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวน และความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินการต่าง ๆ และสามารถเลือกใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม
     มาตรฐาน ค 1.3 ใช้การประมาณค่าในการคำนวณ และแก้ปัญหาได้
     มาตรฐาน ค 1.4 เข้าใจในระบบจำนวน และสามารถนำสมบัติที่เกี่ยวกับจำนวนไปใช้ได้

สาระที่ 2 : การวัด (Measurement)
     มาตรฐาน ค 2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด
     มาตรฐาน ค 2.2 วัด และคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัดได้
     มาตรฐาน ค 2.4 แก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัดได้
-ต่อจากนี้อาจารย์ให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากหนังสือ
-ในชั่วโมงเรียนครั้งต่อไป(หลังปีใหม่) อาจารย์ให้ส่งสื่อการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  พร้อมออกมานำเสนอทุกกลุ่มตามที่ได้รับมอบหมาย...
*สิ่งที่ค้นคว้าเพิ่มเติม
เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์
          สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.) ได้พัฒนากรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัยตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 ตั้งแต่ปี 2551 โดยคณะกรรมการได้ร่วมกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดและการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย อายุ3-5 ปี เพื่อเป็นแนวทางให้สถานศึกษาด้านคณิตศาสตร์ ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
           มาตรการเรียนรู้ เป็นเป้าหมายสำคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็ก รวมทั้งเป็นแนวทางในการกำกับ ตรวจสอบและประเมินผล มาตรฐานการเรียนรู้จัดให้อยู่ใต้สาระหลัก ดังนี้
สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนิน 
     มาตรฐาน ค.ป.1.1 : เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
สาระที่ 2 : การวัด 
     มาตรฐาน ค.ป.2.1 : เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา  
สาระที่ 3 : เรขาคณิต 
     มาตรฐาน ค.ป.3.1 : รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง 
     มาตรฐาน ค.ป.3.2 : รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ
สาระที่ 4 : พีชคณิต 
     มาตรฐาน ค.ป.4.1 : เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์
สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
     มาตรฐาน ค.ป.5.1 : รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อมและนำเสนอ
สาระที่ 6 : ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การจัดการประสบการณ์การเรียนรู้ 
     ครูควรคอยสอดแทรกทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ตามความเหมาะสมกับระดับอายุ
คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็ก 3 ปี ควรมีความสามารถดังนี้
1) มีความรู้ ความเข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวนเกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินห้าและเข้าใจเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม
2) มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา สามารถเปรียบเทียบและใช้คำเกี่ยวกับการเปรียบเทียบความยาว น้ำหนักและปริมาตร สามารถบอกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นในช่วงเวลากลางวันและกลางคืน
3) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่ง สามารถใช้คำบอกตำแหน่งของสิ่งต่างๆ รู้จักทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ในชีวิตประจำวัน และใช้ทรงกลมทรงสี่เหลี่ยมุมฉาก สร้างสรรค์งานศิลปะ
คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กอายุ 4 ปี ควรมีความสามารถดังนี้
1) มีความรู้ ความเข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวนเกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินสิบ และเข้าใจเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม
2) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา สามารถเรียงลำดับความยาวเย็น และเรียงลำดับกิจกรรม เหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นในช่วงเวลา
3) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่ง สามารถใช้คำบอกตำแหน่งและแสดงของสิ่งต่างๆ สามารถจำแนกทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก และใช้ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวยทรงกระบอกสร้างสรรค์งานศิลปะ
4) มีความรู้ ความเข้าใจ แบบรู้ของรูปที่มี รูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง สามารถทำตำแหน่ง สามารถทำตามแบบรูปที่กำหนด
คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กอายุ 5 ปี ควรมีความสามารถดังนี้
1) มีความรู้ ความเข้าใจและมีความพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวน เกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินยี่สิบ และเข้าใจเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม
2) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเงิน สามารถวัดและบอกความยาว น้ำหนัก และปริมาตร โดยใช้เครื่องมือและหน่วยที่ไม่ใช่มาตรฐาน สามารถเรียงลำดับชื่อวันในหนึ่งสัปดาห์และบอกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อวาน วันนี้ พรุ่งนี้ เข้าใจเกี่ยวกับเงิน สามารถบอกชนิดและค่าของเงินเหรียญและธนบัตร
3) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่ง ทิศทางและระยะทางสามารถใช้คำบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง และแสดงตำแหน่งทิศทาง และระยะทางของสิ่งต่างๆ สามารถจำแนกทรงกลมทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอก และจำแนกรูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตสองมิติที่เกิดจากการตัด ต่อเติม พับ หรือคลี่และสร้างสรรค์งานศิลปะจากรูปเรขาคณิตสามมิติและสองมิติ
4) มีความรู้ ความเข้าใจ แบบของรูปที่มีรูปร่าง ขนาดสี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่งสามารถต่อแบบรูปที่กำหนดและสร้างเพิ่มเติม
5) มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและการนำเสนอข้อมูล ในรูปแผนภูมิอย่างง่าย
          ครูผู้สอนจำเป็นต้องศึกษาและทำความเข้าใจ เกี่ยวกับมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้และสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยครูต้องยึดเด็กเป็นสำคัญ กล่าวคือ การเรียนรู้โดยให้เด็กมีส่วนร่วมรู้ร่วมคิด ร่วมทำ ควรคำนึงถึงความสนใจและความแตกต่างของเด็กแต่ละคน การจัดประสบการณ์การเรียนรู้จึงควรมีหลากหลายอาจจัดให้ทำกิจกรรมร่วมกันทั้งชั้น ทำในกลุ่มย่อย ทำเป็นรายบุคคลสถานที่ควรมีทั้งในห้องเรียน นอกห้องเรียน บริเวณโรงเรียน และศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ในชุมชน หรือ ในท้องถิ่น
          เป็นที่น่ายินดีว่า วันนี้ สสวท.ได้จัดทำแผนการประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย ตามสาระ มาตรฐานและตัวชี้วัดรวมทั้งตัวอย่างกิจกรรมไว้อย่างละเอียดและชัดเจน เพื่อให้ครูและผู้เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสอดคล้องกับกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพ.ศ. 2546 และสามารถเชื่อมต่อกับสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้น ป.1 ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ไว้อย่างสมบูรณ์แล้ว

อ้างอิงข้อมูลจาก : เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์
  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น