การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อสร้างเสริมการคิดตรรกคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
>>>ธัญสุตา
จิรกิตตยากร<<<
กรอบแนวคิดในการวิจัย
รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อสร้างเสริมการคิดตรรกคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างและขยายผลรูปแบบการเรียนการสอนสร้างเสริมการคิดตรรกคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ด้วยการวิจัยและพัฒนา มีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างและขยายผลรูปแบบการเรียนการสอนสร้างเสริมการคิดตรรกคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ด้วยการวิจัยและพัฒนา มีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้
ขั้นที่ 1 สร้างรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อสร้างเสริมการคิดตรรกคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ 10 คน และทดลองประเมินโดยการวิจัยเชิงปฏิบัติการกับนักเรียนชั้นเด็กเล็ก
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2548 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ประสานมิตร (ฝ่ายประถม)
ขั้นที่ 2 ศึกษานำร่องรูปแบบการเรียนการสอน โดยการทดลองใช้กับนักเรียนอนุบาลปีที่
2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2548 1 ห้องเรียน ที่โรงเรียนสามเสนนอก (ประชาราษฎร์อนุกูล)
กรุงเทพมหานคร
ขั้นที่ 3 ทดสอบประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อสร้างเสริมการคิดตรรกคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยใช้แบบแผนการวิจัยแบบ One-Group
Pretest-Posttest กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กปฐมวัย โรงเรียนสวัสดีวิทยา
สังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร ใช้ระยะเวลา 6 สัปดาห์
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เป็นทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ 6 กิจกรรมการเรียนรู้
ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2548
ขั้นที่ 4 ขยายผลรูปแบบการเรียนการสอนตรรกคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นครูปฐมวัย
และเด็กปฐมวัยของสถานศึกษา 3 แห่ง คือ โรงเรียนสามเสนนอก(ประชาราษฎร์อนุกูล)
โรงเรียนวัดโตนด และโรงเรียนสวัสดีวิทยา สังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร
จัดกิจกรรมการเรียนรู้โรงเรียนละ 2 กิจกรรมการเรียนรู้รวม 6 กิจกรรมการเรียนรู้
1. รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อสร้างเสริมการคิดตรรกคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยกระบวนการเรียนการสอน
4 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 กระตุ้นการคิด
เป็นการนำปัญหากรณีต่างๆ หรือสถานการณ์ต่างๆ ที่เด็กสนใจมาเป็นตัวกระตุ้นจูงใจหรือท้าทายให้เด็กเกิดการคิด
และมองปัญหาโดยการสังเกต ครูจะใช้คำถามกระตุ้นการคิดอย่างต่อเนื่อง
ขั้นที่ 2 สันนิษฐานคำตอบ เป็นการให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติการคิด
ได้ทดสอบการคาดเดาตามหลักการโดยใช้ประสาทสัมผัส
กำหนดความคาดหวังจากความสัมพันธ์เชิงเหตุผลมองหาทางเลือกหลายๆ ทางในการแก้ปัญหา
ขั้นที่ 3 พิสูจน์เหตุผล
เป็นการให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ จัดระบบและความเข้าใจโดยการสังเกต เปรียบเทียบ
จำแนก และการนับ เพื่อหาเหตุผลในการตอบ ได้ตัดสินใจด้วยตัวเอง
ได้คิดอย่างมีเหตุผลและเป็นขั้นตอน
ขั้นที่ 4 สรุปหลักการทางคณิตศาสตร์
เป็นการให้เด็กได้คิดวิเคราะห์
มองเห็นความเป็นเหตุเป็นผลจากการลงมือปฏิบัติการคิดของตนเองและเพื่อน
แล้วนำข้อมูลมาสรุปเป็นคำตอบ
2. การจัดการเรียนการสอนตามขั้นตอนของรูปแบบการเรียนการสอนสร้างเสริมการคิดตรรกคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ทำให้เด็กปฐมวัยมีความสามารถทางการคิดตรรกคณิตศาสตร์ 4 ด้าน ดังนี้
1. แจกแจงเหตุผล
2. ความสัมพันธ์
3. ความเชื่อมโยง
4. ข้อสรุปทางคณิตศาสตร์
3. การประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อสร้างเสริมการคิดตรรกคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ผลการประเมินพบว่า
3.1 เด็กปฐมวัยมีความสามารถทางการคิดตรรกคณิตศาสตร์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อสร้างเสริมการคิดตรรกคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่รัดับ 0.1
3.2 ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ โดยสนทนากับเด็กปฐมวัยจำนวน
70 คน พบว่าหลังการทดสอบเด็กปฐมวัยมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ในระดับมาก
3.3 การขยายผลรูปแบบการเรียนการสอน ครูปฐมวัยที่ได้ใช้รูปแบบการเรียนการสอนมีความพึงพอใจและเห็นว่ารูปแบบการเรียนการสอนมีความเหมาะสมในระดับมาก